วงดนตรีไทย ที่ใช้บรรเลงเป็นระเบียบแบบแผนมาแต่โบราณจนถึง ปัจจุบันมีหลายประเภทเช่น วงบรรเลงพิณ วงขับไม้ วงอังกะลุง วงเครื่องกลองแขก วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี เป็นต้น ซึ่ง ในที่นี้จะกล่าวถึง วงดนตรีที่ใช้บรรเลงเป็นประจำในปัจจุบันคือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี
วงปี่พาทย์
วงปี่พาทย์ คำว่า "ปี่พาทย์" หมายถึงการประสมวงที่มีปี่ และเครื่องเคาะ (ตี) ร่วมด้วย สมัยสุโขทัยได้เริ่มมี "วงปี่พาทย์เครื่องห้า" ขึ้นมาก่อน โดยใช้เครื่องดนตรี 5 ชิ้น คือ ปี่ ตะโพน ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ต่อมาได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนเจริญถึงขีดสุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการเพิ่มระนาด เข้าไปในภายหลัง วงปี่พาทย์ในปัจจุบันแบ่งออกได้ 6 แบบ ดังนี้
1. วงปี่พาทย์ชาตรี
เป็นวงปี่พาทย์โบราณที่มีเครื่องดนตรีน้อยที่สุด เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์ และหนังตะลุง เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้ ได้แก่
ปี่นอก
- ฆ้องคู่
- โทน 1คู่
- กลองชาตรี 1 คู่
- กรับ
- ฉิ่ง
- ฆ้องคู่
- โทน 1คู่
- กลองชาตรี 1 คู่
- กรับ
- ฉิ่ง
2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
วงปี่พาทย์สามัญสำหรับประกอบการแสดงโขน ละคร ลิเก และบรรเลงในงานมงคลที่มีพิธีกรรม พิธีการ เช่น พิธีไหว้ครูดนตรี นาฏศิลป์ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช เป็นต้น มี 3 ขนาด คือ ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์เครื่องใหญ่
2.1ปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า
เป็นวงปี่พาทย์โบราณที่มีเครื่องดนตรีน้อยที่สุด เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์ และหนังตะลุง เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้ ได้แก่
เป็นวงปี่พาทย์โบราณที่มีเครื่องดนตรีน้อยที่สุด เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์ และหนังตะลุง เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้ ได้แก่
ปี่ใน | 1 | เลา |
ระนาดเอก | 1 | ราง |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง |
ตะโพน | 1 | ใบ |
กลองทัด | 1 | คู่ |
ฉิ่ง | 1 | คู่ |
ปี่ใน | 1 | เลา | ปี่นอก | 1 | เลา |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง | ฆ้องวงเล็ก | 1 | วง |
ตะโพน | 1 | ใบ | ฉาบ | 1 | คู่ |
กลองทัด | 1 | คู่ | กรับ | 1 | คู่ |
ฉิ่ง | 1 | คู่ | โหม่ง | 1 | ใบ |
ปี่ใน | 1 | เลา | ปี่นอก | 1 | เลา | |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง | |
ระนาดเอกเหล็ก | 1 | ราง | ระนาดทุ้มเหล็ก | 1 | ราง | |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง | ฆ้องวงเล็ก | 1 | วง | |
ตะโพน | 1 | ใบ | ฉาบ | 1 | คู่ | |
กลองทัด | 1 | คู่ | กรับ | 1 | คู่ | |
ฉิ่ง | 1 | คู่ | โหม่ง | 1 | ใบ |
3.ปี่พาทย์ไม้นวม
มี เครื่องดนตรีคล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพียงแต่เปลี่ยนจาก ไม้ที่ใช้ตีระนาดเอก เป็นไม้นวม เปลี่ยนจากปี่ เป็นขลุ่ย และเพิ่ม ซออู้เข้าไปบรรเลงด้วยเท่านั้น
4.วงปี่พาทย์นางหงส์
ใช้เครื่องดนตรีเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่างนอกจาก
-ใช้ ปี่ชวา แทน ปี่ใน
-ใช้กลองมลายู 1 คู่ แทน ตะโพนและกลองทัด
วงปี่พาทย์นางหงส์นี้ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น
-ใช้กลองมลายู 1 คู่ แทน ตะโพนและกลองทัด
วงปี่พาทย์นางหงส์นี้ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น
4.1วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า
ปี่ชวา | 1 | เลา |
ระนาดเอก | 1 | ราง |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง |
กลองมลายู | 1 | ใบ |
ฉิ่ง | 1 | คู่ |
โหม่ง | 1 | คู่ |
ปี่ชวา | 1 | เลา | ฉิ่ง | 1 | คู่ | |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง | |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง | ฆ้องวงเล็ก | 1 | วง | |
กลองมลายู | 1 | คู่ | ฉาบ | 1 | คู่ | |
กรับ | 1 | คู่ | โหม่ง | 1 | ใบ |
ปี่ชวา | 1 | เลา | ฉิ่ง | 1 | คู่ |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ระนาดเอกเหล็ก | 1 | ราง | ระนาดทุ้มเหล็ก | 1 | ราง |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง | ฆ้องวงเล็ก | 1 | วง |
กลองมลายู | 1 | คู่ | ฉาบ | 1 | คู่ |
โหม่ง | 1 | ใบ | กรับ | 1 | คู่ |
5.วงปี่พาทย์มอญ
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญ ได้แก่ ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก เครื่องดนตรีของวงปี่พาทย์มอญนี้ ปิดทองหรือทาด้วยสีทองเกือบทุกชิ้น วงปี่พาทย์มอญคล้ายกับ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้
ใช้ปี่มอญ แทนปี่ใน
ใช้ฆ้องมอญ แทน ฆ้องวง
ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย
และ เพิ่มเปิงมางคอกเข้า
(เปิงมางคอก ใช้เปิงมาง 7 ลูกเทียบให้มีเสียงสูง - ต่ำ ตามลำดับผูกร้อยเข้ากับคอกเปิงมาง) วงปี่พาทย์มอญนิยมบรรเลงในงานศพ เพราะมีทำนอง ฟังแล้วโหยหวนชวนให้เกิดความเศร้าใจ
5.1วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้าใช้ปี่มอญ แทนปี่ใน
ใช้ฆ้องมอญ แทน ฆ้องวง
ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย
และ เพิ่มเปิงมางคอกเข้า
(เปิงมางคอก ใช้เปิงมาง 7 ลูกเทียบให้มีเสียงสูง - ต่ำ ตามลำดับผูกร้อยเข้ากับคอกเปิงมาง) วงปี่พาทย์มอญนิยมบรรเลงในงานศพ เพราะมีทำนอง ฟังแล้วโหยหวนชวนให้เกิดความเศร้าใจ
ปี่มอญ | 1 | เลา |
ระนาดเอก | 1 | ราง |
ฆ้องมอญวงใหญ่ | 1 | วง |
ตะโพนมอญ | 1 | ใบ |
เปิงมางคอก | 1 | ชุด |
ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ โหม่ง |
ปี่มอญ | 1 | เลา | |||
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ฆ้องมอญวงใหญ่ | 1 | วง | ฆ้องมอญวงเล็ก | 1 | วง |
ตะโพนมอญ | 1 | ใบ | เปิงมางคอก | 1 | ชุด |
ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ โหม่ง |
ปี่มอญ | 1 | เลา | ฉิ่ง | 1 | คู่ |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ระนาดเอกเหล็ก | 1 | ราง | ระนาดทุ้มเหล็ก | 1 | ราง |
ฆ้องมอญวงใหญ่ | 1 | วง | ฆ้องมอญวงเล็ก | 1 | วง |
ตะโพนมอญ | 1 | ใบ | เปิงมางคอก | 1 | ชุด |
กรับ | 1 | คู่ | ฉาบ | 1 | คู่ |
โหม่ง | 1 | ใบ |
เป็นวงปี่พาทย์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นสำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นละครที่เลียนแบบละครโอเปร่าของชาวตะวันตก เป็นละครที่มีฉากประกอบตามเนื้อเรื่อง ตัวละครร้องเพลงเอง การที่วงปี่พาทย์ชนิดนี้ ได้ชื่อว่าปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์ เพราะเรียกตามอย่างชื่อละครดึกดำบรรพ์ ที่แสดง ในโรงละครดึกดำบรรพ์ของเจ้าพระยา เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร)
**ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ มีเครื่องดนตรีที่มีเสียงนุ่มนวล ปราศจากเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังแกร่งกร้าว เล็กแหลม หรือเสียงสูงมาก ๆ
มีเครื่องดนตรี ดังนี้
ขลุ่ยเพียงออ | 1 | เลา | ขลุ่ยอู้ | 1 | เลา |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ฆ้องวงใหญ่ | 1 | วง | ระนาดทุ้มเหล็ก | 1 | ราง |
ตะโพน | 1 | ใบ | กลองตะโพน | 1 | ใบ |
ฆ้องหุ่ย | 1 | คู่ | ซออู้ | 1 | คัน |
กลองแขก | 1 | คู่ | ฉิ่ง | 1 | คู่ |
ฉาบ | 1 | คู่ | กรับ | 1 | คู่ |
วงเครื่องสาย
วงเครื่องสายประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสาย ซึ่งมีเครื่องดีด และเครื่องสีเป็นหลักนำวงโดยซอด้วงแบ่งออกเป็น
1.วงเครื่องสายวงเล็ก หรือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
จะเข้ | 1 | ตัว |
ซอด้วง | 1 | คัน |
ซออู้ | 1 | คัน |
ขลุ่ยเพียงออ | 1 | เลา |
โทน-รำมะนา | ||
ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ โหม่ง |
จะเข้ | 2 | ตัว |
ซอด้วง | 2 | คัน |
ซออู้ | 2 | คัน |
ขลุ่ยเพียงออ | 1 | เลา |
ขลุ่ยหลิบ | 1 | เลา |
โทน-รำมะนา | ||
ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ โหม่ง |
ได้แก่วงเครื่องสาย ที่นำเอาเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา โดยนำเอาเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือของชาติอื่นเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย เช่น แคน,ระนาด,ขิม,ออร์แกน,เปียโน,หีบเพลงชัก,ไวโอลิน หากนำเครื่องดนตรีชนิดใดมาผสมก็เรียกวงเครื่องสายผสมนั้น เช่น วงเครื่องสายผสมขิม, วงเครื่องสายผสมออร์แกน เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------
วงมโหรี
ในสมัยอยุธยาวงมโหรีเกิดขึ้นมาจากการดัดแปลงวงขับไม้ในอดีตโดยนำพิณมาร่วมบรรเลงดัวยซึ่งเดิมมีีเครื่องดนตรีเพียง 2 ชิ้น แล้วเปลี่ยนคนขับลำนำมาเป็นคนร้อง และตีกรับพวง เปลี่ยนจากบัณเฑาะว์เป็นโทน พร้อมกับเพิ่มรำมะนา และขลุ่ยไปประสมร่วม ปัจจุบันวงมโหรีจะมีเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย เครื่องดีด สี ตี เป่า รวมกันเป็นการนำเอาวงปี่พาทย์ไม้นวม และวงเครื่องสายมาบรรเลงร่วมกันและเพิ่ม ซอสามสาย
2.วงมโหรีเครื่องคู่
3.วงมโหรีเครื่องใหญ่
-------------------------------------------------------------------------------------
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงมโหรีเข้าด้วยกัน ส่วนเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ ซึ่งได้แก่ระนาดและฆ้องวงได้ทำการประดิษฐ์ให้มีขนาดเล็กลง เรียกว่าระนาดมโหรี และฆ้องมโหรี หรือฆ้องกลางวงมโหรีในปัจจุบันมี 3 ขนาด
1.วงมโหรีเครื่องเล็ก หรือวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ซอสามสาย | 1 | คัน |
ระนาดเอก | 1 | ราง |
ฆ้องกลาง | 1 | วง |
จะเข้ | 1 | ตัว |
ซอด้วง | 1 | คัน |
ซออู้ | 1 | คัน |
ขลุ่ยเพียงออ | 1 | เลา |
โทนมโหรี | 1 | ใบ |
รำมะนามโหรี | 1 | ใบ |
ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ ,โหม่ง |
ซอสามสาย | 1 | คัน | ซอสามสายหลิบ | 1 | คัน |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ฆ้องกลาง | 1 | วง | ฆ้องวงเล็ก | 1 | วง |
ซอด้วง | 2 | คัน | ซออู้ | 2 | คัน |
จะเข้ | 2 | ตัว | ขลุ่ยเพียงออ | 1 | เลา |
ขลุ่ยหลิบ | 1 | เลา | โทนมโหรี | 1 | ใบ |
รำมะนามโหรี | 1 | ใบ | ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ ,โหม่ง |
ซอสามสาย | 1 | คัน | ซอสามสายหลิบ | 1 | คัน |
ระนาดเอก | 1 | ราง | ระนาดทุ้ม | 1 | ราง |
ระนาดเอกเหล็ก | 1 | ราง | ระนาดทุ้มเหล็ก | 1 | ราง |
ฆ้องกลาง | 1 | วง | ฆ้องวงเล็ก | 1 | วง |
ซอด้วง | 2 | คัน | ซออู้ | 2 | คัน |
จะเข้ | 2 | ตัว | ขลุ่ยเพียงออ | 1 | เลา |
ขลุ่ยหลิบ | 1 | เลา | โทน-รำมะนามโหรี | 1 | คู่ |
ขลุ่ยอู้ | 1 | เลา | ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ ,โหม่ง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น