เครื่อง ตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้
ตัวอย่าง
1.ระนาดเอก
เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า “ลูกระนาด” เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า “ผืน”
ลูกระนาดนี้ทำด้วยไม้ไผ่บง หรือไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พะยุงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า “โขน” ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารอง รางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า2.ฆ้อง
ฆ้องจัดได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานชนิดหนึ่ง ในบรรดาเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกันในปัจจุบัน และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ เป็นเครื่องดนตรีหลักของวงดนตรีไทย ทั้งในวงมโหรี และวงปี่พาทย์ โดยฆ้องได้มีหลักฐานการค้นพบ โดยมุ่งไปที่กลองมโหระทึก กลองมโหระทึก ถูกค้นพบครั้งแรกที่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีนแถบมณฑลยูนานและมณฑลใกล้เคียง ต่อเนื่องลงมาถึงเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า กลองมโหระทึกเป็นต้นกำเนิดของฆ้องก็เพราะโลหะที่ใช้ในการสร้างนั้นเอง โลหะที่ใช้ในการสร้างกลองมโหระทึก เป็นโลหะผสมแบบเดียวกับฆ้องที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นอกจากลักษณะของเนื้อโลหะผสมแล้ว เส้นทางวิวัฒนาการของกลองมโหระทึกยังผ่านการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีในตระกูล เดียวกัน แต่เปลี่ยนแปลงรูปร่างที่มีทิศทางมาใกล้ฆ้องมาขึ้นนั้นคือการค้น พบ “กังสดาร” ซึ่งสร้างด้วยโลหะผสมแบบเดียวกันแต่รูปร่างเป็นแผ่นกลมขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร พบที่วัดพระธาตุหริภุญไชย ในจังหวัดลำพูน คาดว่าน่าจะอยู่ราวศตวรรษที่ ๑๓
ส่วนประกอบฆ้องวงใหญ่
1. ร้านฆ้อง
ร้านฆ้อง ทำด้วยหวายเป็นต้น 4 เส้น ดัดโค้ง เป็นวงกลม ใช้ 2 เส้นดัดเป็นโค้งเป็นวงนอก อีก 2 เส้นโค้งเป็นวงใน ยึดติดกับลูกมะหวด
ลูกมะหวด ทำด้วยไม้กลึงให้กลมเป็นลอนขนาบด้วย ลูกแก้ว หัวท้ายบากและปาดโค้ง รับกับต้นหวายเป็นระยะตลอดทั้งวง
โขนฆ้อง ทำด้วยไม้หนา มีลักษณะตอนกลางนูนเป็นสันเรียวแหลมเหมือนใบโพธิ์ข้างปาดเรียวลง ยึดติดติดกับต้นหวายทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
ไม้ค่ำล่าง เป็นไม้ลักษณะสี่เหลี่ยมทรงแบน ยึด ติดกับหวายคู่ล่างโดยรอบ ระยะห่างพอสมควร บางวงจะใช้แผ่นโลหะตอกตะปูคลุมอีกทีหนึ่ง
ไม้ตะคู้ คือไม้ไผ่เล็กๆเจาะฝังเข้าไปในลูก มะหวด เพื่อกั้นสะพานหนู
สะพานหนู เป็นเส้นลวดสอดโค้งเป็นวงใต้ไม้ตะคู้ เพื่อไว้ผูกหนังลูกฆ้อง ด้านในและด้านนอก
ไม้ค้ำบน หรือ ไม้ถ่างฆ้อง เป็นไม้แผ่นบางๆปาดหัวท้ายเว้าตามเส้นหวาย เพื่อใช้ถ่างให้วงฆ้อง ให้อยู่ในสภาพเป็นวงสวยงาม ปกติลูกฆ้อง 4 ลูกจะ ใส่ไม้ถ่างฆ้อง 1 อัน ฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูก จึงมีไม้ถ่างฆ้องวงหนึ่ง 4 อัน ที่ต้นหวายทั้ง 4 ต้นจะมีหวายผ่าซีก 2 หรือ 3 เส้นประกบโดยรอบ เพื่อรองรับหนังผูกฆ้อง และเพื่อให้สวยงาม จะกลึงเป็นเม็ดติดไว้ที่ปลายต้นหวายทั้งสี่ต้น สำหรับสมัยโบราณจะกลึงเม็ดเป็นขา ติดอยู่ที่ใต้ไม้ถ่างล่างอีกทีหนึ่ง
วงฆ้องบางวงได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยการประกอบงา แกะลวดลายฝังงา หรือมุขที่โขน บางครั้งที่ลูกมะหวดประกอบงา หรือเป็นงาทั้งอัน หรือแกะลวดลาย ลงรักปิดทองสวยงาม
ร้านฆ้อง ทำด้วยหวายเป็นต้น 4 เส้น ดัดโค้ง เป็นวงกลม ใช้ 2 เส้นดัดเป็นโค้งเป็นวงนอก อีก 2 เส้นโค้งเป็นวงใน ยึดติดกับลูกมะหวด
ลูกมะหวด ทำด้วยไม้กลึงให้กลมเป็นลอนขนาบด้วย ลูกแก้ว หัวท้ายบากและปาดโค้ง รับกับต้นหวายเป็นระยะตลอดทั้งวง
โขนฆ้อง ทำด้วยไม้หนา มีลักษณะตอนกลางนูนเป็นสันเรียวแหลมเหมือนใบโพธิ์ข้างปาดเรียวลง ยึดติดติดกับต้นหวายทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
ไม้ค่ำล่าง เป็นไม้ลักษณะสี่เหลี่ยมทรงแบน ยึด ติดกับหวายคู่ล่างโดยรอบ ระยะห่างพอสมควร บางวงจะใช้แผ่นโลหะตอกตะปูคลุมอีกทีหนึ่ง
ไม้ตะคู้ คือไม้ไผ่เล็กๆเจาะฝังเข้าไปในลูก มะหวด เพื่อกั้นสะพานหนู
สะพานหนู เป็นเส้นลวดสอดโค้งเป็นวงใต้ไม้ตะคู้ เพื่อไว้ผูกหนังลูกฆ้อง ด้านในและด้านนอก
ไม้ค้ำบน หรือ ไม้ถ่างฆ้อง เป็นไม้แผ่นบางๆปาดหัวท้ายเว้าตามเส้นหวาย เพื่อใช้ถ่างให้วงฆ้อง ให้อยู่ในสภาพเป็นวงสวยงาม ปกติลูกฆ้อง 4 ลูกจะ ใส่ไม้ถ่างฆ้อง 1 อัน ฆ้องวงใหญ่มี 16 ลูก จึงมีไม้ถ่างฆ้องวงหนึ่ง 4 อัน ที่ต้นหวายทั้ง 4 ต้นจะมีหวายผ่าซีก 2 หรือ 3 เส้นประกบโดยรอบ เพื่อรองรับหนังผูกฆ้อง และเพื่อให้สวยงาม จะกลึงเป็นเม็ดติดไว้ที่ปลายต้นหวายทั้งสี่ต้น สำหรับสมัยโบราณจะกลึงเม็ดเป็นขา ติดอยู่ที่ใต้ไม้ถ่างล่างอีกทีหนึ่ง
วงฆ้องบางวงได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยการประกอบงา แกะลวดลายฝังงา หรือมุขที่โขน บางครั้งที่ลูกมะหวดประกอบงา หรือเป็นงาทั้งอัน หรือแกะลวดลาย ลงรักปิดทองสวยงาม
2.ลูกฆ้อง
ทำด้วยโลหะที่เรียกว่า ทองเหลือง หลอม ตี หรือกลึงเป็นลูกๆทรงกลม ด้านบนกลึงตรงกลางให้นูนเป็นปุ่มเรียกว่า ปุ่มฆ้อง สำหรับตีให้เกิดเสียง ด้าน ข้างกลึงเป็นขอบงุ้มลงเรียกว่า ฉัตร เพื่อให้เสียงดังกังวานยาวขึ้น ที่ฉัตรเจาะรู 4 รูสำหรับร้อยหนังเลียด ซึ่งทำด้วยหนังเส้นเล็ก ร้อยผ่านรูที่ฉัตร ไปผูกยังสะพานหนู วงหนึ่ง มี 16 ลูกลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละลูกจะติดตะกั่วผสมขี้ผึ้งใต้ปุ่มฆ้อง เพื่อให้ได้เสียง สูงต่ำเรียงตามลำดับ 16 เสียง ลูกที่มีเสียงต่ำสุดจะ เรียกว่า ลูกทวน และลูกที่มีเสียงสูงสุดจะเรียกว่า ลูกยอด
3.ไม้ตีฆ้อง
ก้านทำด้วยไม้ไผ่ เหลาให้กลมเล็ก ยาวพอประมาณ ไม้ที่ดีนิยมไม้ที่มี 5 ข้อขึ้นไปจนถึง 9 ข้อ หัวไม้ ทำด้วยหนังช้าง ตัดเป็นวงกลม ทุบปลายบานเป็นขอบ เล็กน้อย เพื่อให้นุ่มสำหรับตีลงที่ปุ่มฆ้องได้เสียงที่นุ่ม ไพเราะ ปัจจุบันหนังช้างหายาก จึงใช้ไม้ฆ้องที่หัวพัน ด้วยผ้า เคียนด้วยด้ายสีต่างๆด้วยวิธีกรรมที่ประณีตสวยงาม เรียกว่า ไม้นวม เสียงจะนุ่มนวล แต่ไม่คมคายเท่าหนังช้าง เหมาะสำหรับไว้ฝึกซ้อม
3. ตะโพนมอญ
ตะโพนมอญ เหมือนตะโพนไทยทุกอย่าง แต่ใหญ่กว่า วัสดุที่สำคัญที่ใช้ทำตะโพนมี คือไม้ ใช้ทำตัวตะโพนและเท้าตะโพนเรียกว่า “หุ่น” วัสดุอีกอย่างหนึ่งคือ หนังวัว หรือหนังควาย ใช้ทำหน้าตะโพน ไส้ละมาน หนังเรียด และรัดอก
หุ่นตะโพนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะม่วงป่า ไม้สะเดา ไม้พยุง ไม้ชิงชัน หน้าเท่งวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๔๒ ซม. หน้ามัดประมาณ ๓๕ ซม. หุ่นยาวประมาณ ๗๐ ซม. ตรงกลางหุ่นไม่ป่อง
ที่ขอบหนังหน้าตะโพนทั้ง ๒ หน้าถักด้วยหนังเล็กๆเรียกว่า “ไส้ละมาน” หนังหน้าตะโพนทั้ง ๒ หน้าเร่งความตึงโดยใช้ “หนังเรียด” ร้อยไส้ละมานของหนังทั้ง ๒ หน้าโดยรอบแล้วดึงให้ตึงตามความต้องการ หนังเรียดทำด้วยหนังวัวหรือหนังควายแห้งอัดเรียบ นำมาพรมน้ำให้นิ่มพอสมควร ใช้ดินสอวาดเป็นวงติดต่อกันไปโดยเริ่มจากด้านนอกไปด้านใน
ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ไทยเมื่อบรรเลงเพลงมอญ และใช้ในการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น